กระบวนการผลิต น๊อต สกรู

กระบวน การผลิต น๊อต สกรู ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ โดยรายละเอียดในแต่ละขั้นตอนจะมีความแตกต่างตามชนิดของผลิตภัณฑ์ ข้อกำหนดเชิงคุณภาพ สามารถแบ่งออกได้ตามนี้

1.   กระบวนการทำความสะอาดผิวและการเคลือบสารหล่อลื่น

เพื่อ ป้องกันสนิมที่อยู่บนผิวเหล็กและวัสดุปลอมปนอื่นที่อยู่บนผิวของโลหะแทรก ระหว่างกระบวนการแปรรูปเพื่อการผลิต น๊อต, สกรู  จำเป็นต้องมีการทำความสะอาดผิว โดยปกติจะมี 2 วิธีโดย  ;
-     การใช้แรงดึงในการกำจัดสนิม เรียกว่า “ Mechanical Descaling ” 
-     การทำความสะอาดผิวด้วยกรด คือ การใช้กรดไฮโดรคลอไรด์ (HCL) เรียกว่า “ Chemical Descaling ” แล้วทำการเคลือบผิวด้วย Phosphate, Hot lime เพื่อใช้เป็นสารหล่อลื่นในการดึงลดขนาด

2.   กระบวนการดึงลดขนาดเหล็กลวด

ปกติ การดึงลดขนาดในกลุ่มเหล็กคาร์บอนต่ำระหว่าง 0.06-0.22 จะมีการลดขนาดที่ร้อยละ 20 และเหล็กที่มีคาร์บอนระหว่าง 0.25-0.50 จะมีการลดขนาดที่ร้อยละ 15 ต่อครั้ง  โดยการดึงเหล็กลวดผ่านแม่พิมพ์ที่มีลักษณะเป็นมุมเอียงเพื่อลดขนาด

3.   กระบวนการทางความร้อน (Heat Treatment)

กระบวนการดังกล่าวจะทำได้ทั้งกรณี เหล็กลวด และลวดเหล็ก โดยสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มได้ตามนี้

•     การอบอ่อน (Annealing) :  เป็นการอบที่อุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิที่เหล็กเปลี่ยนโครงสร้างเป็นออสเตนไนท์ หรือประมาณ 900 oc โดยจะใช้กับเหล็กที่มีคาร์บอนต่ำเพื่อลดความเครียดภายในและเพิ่มคุณสมบัติในการแปรรูป

•    Spheroidized Annealing :  เป็นการอบที่อุณหภูมิต่ำกว่า 723 oc โดยใช้เวลาในการอบประมาณ 11 ชั่วโมง เพื่อให้ซีเมนไทต์กลมมน โดยจะใช้กับเหล็กที่มีคาร์บอนปานกลางถึงสูง เพื่อเพิ่มคุณสมบัติในการแปรรูป

•    Patenting :  เป็นการอบที่อุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิที่เหล็กเปลี่ยนโครงสร้างเป็นออสเตนไนท์ ประมาณ 900 oc แล้วทำให้เย็นตัวอย่างรวดเร็วและคงไว้ที่อุณหภูมิประมาณ 540 oc ในอ่างตะกั่วหรืออ่างเกลือ เพื่อให้ได้โครงสร้างเป็นเพิร์ลไลท์ละเอียดโดยจะใช้กับเหล็กที่มีคาร์บอน ปานกลางถึงสูงเพื่อเพิ่มคุณสมบัติในการแปรรูป

4.   กระบวนการทุบหัว (Cold Heading)

เป็น การแปรรูปเย็นโดยการใช้แม่พิมพ์ในการทุบขึ้นรูปเหล็กให้ได้หัวของ น๊อต สกรู ตามต้องการ วัตถุดิบที่ใช้ในการทำแม่พิมพ์เป็นกลุ่ม Tungsten Carbide

5.   กระบวนการทำเกลียว (Threading)

เพื่อแปรรูปให้ได้เกลียวบนส่วนปลายของชิ้นงานที่ผ่านการทุบหัวแล้ว โดยวัตถุดิบในการผลิตแม่พิมพ์เป็นกลุ่ม High Speed Steel

6.   กระบวนการอบชุบ

เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติทางกลโดยเฉพาะความแข็งของผลิตภัณฑ์ โดยสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม

•     Case Hardening :  เป็นวิธีเพิ่มคุณสมบัติความแข็งที่ผิว โดยจะอบชุบกับน็อต สกรูกลุ่มเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ ที่อุณหภูมิเหนืออุณหภูมิที่เหล็กเปลี่ยนโครงสร้างเป็นออสเตนไนท์ หรือประมาณ 900 oc ในบรรยากาศที่มีคาร์บอนสูงเพื่อให้คาร์บอน แพร่เข้าไปในผิวชิ้นงาน (โดยปกติจะใช้ก๊าซ LPG ในการสร้างบรรยากาศคาร์บอนสูง) จากนั้นทำการชุบแข็งโดยให้เย็นตัวในน้ำมันที่อุณหภูมิ 90 oc และทำการอบคลายตัว (Tempering) ที่อุณหภูมิ 250-400 oc แล้วให้เย็นตัวในอากาศ ผลิตภัณฑ์จะมีความแข็งที่ผิวสูงประมาณ 400 HV

•     Quenching :  เป็นการเพิ่มคุณสมบัติความแข็งของผลิตภัณฑ์ โดยใช้กับน็อต สกรูกลุ่มเหล็กคาร์บอนปานกลางถึงสูง การอบทำที่อุณหภูมิเหนือเส้น AC3 หรือประมาณ 900 oc แล้วให้เย็นตัวในน้ำมันอุณหภูมิ 90 oc และทำการอบคลายตัว (Tempering) ที่อุณหภูมิ 250-400 oc แล้วให้เย็นตัวในอากาศ ผลิตภัณฑ์จะมีความแข็งที่ผิวสูงและจะมีคุณสมบัติความแข็งแรงสูงขึ้น

7.   การเคลือบผิวเพื่อเพิ่มคุณสมบัติทนการกัดกร่อน (Corrosion Resistance)

มี การชุบด้วยวิธีการและสารต่างๆ ได้แก่การชุบด้วยสังกะสีด้วยวิธีการจุ่มร้อน (Hot-dipped galvanized) การเคลือบด้วยไฟฟ้า (Electroplating) และการชุบเคลือบด้วยสีพิเศษ

Copyright © 2009 by acam (Thai) Enterprise. All Rights Reserved.
Power by Joomla2.5 | Design by BlessWebDesign.com

Friday the 19th.